ภาวะนิ้วปุ้มหรือนิ้วกระบองนั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเจริญเติบโตและสร้างเนื้อเยื่อเล็บ (และอาจรวมถึงกระดูกและข้อของนิ้วในบริเวณนั้นด้วย) จากการที่ในร่างกายมีสารที่ชื่อว่า Vascular Endothelial Growth Factor (VEGF) เพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ ทำให้หลอดเลือดฝอยส่วนปลาย ๆ ของร่างกาย (ซึ่งก็คือปลายนิ้วมือนิ้วเท้า) เกิดการขยายตัวและเพิ่มจำนวน เมื่อเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่ในการสร้างเล็บ ข้อและกระดูกบริเวณนั้นมีเลือดมามากขึ้น ก็จะมีการขยายตัวมากขึ้นตามไปด้วย ทำให้ปลายนิ้วนั้นพองขยายออกดูเหมือนกระบอง
ปัจจัยที่จะมีผลทำให้สาร VEGF นี้เพิ่มมากขึ้นได้ มีอยู่หลาย ๆ ปัจจัย ได้แก่
1. ภาวะพร่องออกซิเจนในเลือด (Hypoxemia) อย่างเรื้อรังเป็นเวลานาน เช่นในผู้ป่วยที่มีหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดที่ทำให้เขียว (cyanotic congenital heart disease) การที่เนื้อเยื่อในร่างกายมีภาวะขาดออกซิเจนอยู่นาน เป็นปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้มีการสร้าง VEGF เพิ่มขึ้น
2. โรคหรือความผิตปกติในปอด เนื้อเยื่อปอด เยื่อหุ้มปอดและหลอดลมในปอดมีเซลล์ที่สามารถสร้างและหลั่งสาร VEGF ได้ (เหตุผลไม่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่าเนื่องจากปอดทำหน้าที่ควบคุมป้องกันไม่ให้ร่างกายเกิดภาวะ hypoxemia ตามข้อ 1 จึงต้องมีความสามารถอันนี้) ดังนั้น หากมีโรคหรือความผิดปกติที่ทำให้เกิดการอักเสบอย่างเรื้อรังในปอด ก็จะทำให้มีการหลั่งสาร VEGF เพิ่มมากขึ้น ก็จะเกิดภาวะนิ้วปุ้มตามมาได้
3. การทำงานของ Vagus nerve (เส้นประสาทของระบบประสาทอัตโนวัดิคู่ที่ 10) จากการศึกษาพบว่าเส้นประสาทชนิดนี้อาจมีส่วนช่วยกระตุ้นการสร้าง VEGF ได้ ซึ่งหากมีการกระตุ้นมากไปก็จะทำให้เกิดภาวะนิ้วปุ้มได้ด้วย และถ้าเราทำการผ่าตัดทำลายเส้นประสาทนี้ไป ภาวะนิ้วปุ้มก็ดีขึ้นได้ด้วย
จะเห็นได้ว่าภาวะนิ้วปุ้มนั้น เกิดได้จากหลายสาเหตุมาก ๆ ครับ แต่โดยรวมมาจะต้นตอเดียวกันนั่นคือ VEGF
ตัวอย่างสาเหตุ และ กลไกการเกิดภาวะนิ้วปุ้ม ก็ได้แก่
1. มะเร็งชนิดต่าง ๆ ที่อยู่ในปอด หลอดลมของปอด หรือเยื่อหุ้มปอด ไม่ว่าจะเป็นแบบที่เกิดขึ้นในปอดโดยตรง (primary tumor) หรือแบบที่เริ่มที่อื่นแต่กระจายมา (Secondary tumor)
2. การอักเสบอย่างเรื้อรังภายในเนื้อปอด เช่น ฝีในปอด (lung abscess) ฝีในโพรงเยื่อหุ้มปอด (Empyema) หรือการติดเชื้อเรื้อรังในปอด เช่น bronchiectasis หรือวัณโรคปอด รวมไปถึงการอักเสบชนิดที่ไม่ติดเชื้อด้วย นั่นคือ Interstitial lung disease ประเภทต่าง ๆ (โรคพังผืดในปอดหรือ pulmonary fibrosis ก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้
3. โรคหัวใจ ดังกล่าวแล้วข้างต้น
4. โรคที่มีการอักเสบอย่างเรื้อรังในลำไส้ (inflammatory bowel disease) ซึ่งส่งผลกระตุ้นเส้นประสาท vagus nerve ให้มีการสร้าง VEGF
5. ผู้ป่วยที่เปิดโรคนิ้วปุ้มแต่กำเนิด (Congenital clubbing) กลุ่มนี้มีการสร้าง VEGF เพิ่มมากกว่าปกติแต่กำเนิด เป็นโรคทางพันธุกรรม
ปัจจัยที่จะมีผลทำให้สาร VEGF นี้เพิ่มมากขึ้นได้ มีอยู่หลาย ๆ ปัจจัย ได้แก่
1. ภาวะพร่องออกซิเจนในเลือด (Hypoxemia) อย่างเรื้อรังเป็นเวลานาน เช่นในผู้ป่วยที่มีหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดที่ทำให้เขียว (cyanotic congenital heart disease) การที่เนื้อเยื่อในร่างกายมีภาวะขาดออกซิเจนอยู่นาน เป็นปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้มีการสร้าง VEGF เพิ่มขึ้น
2. โรคหรือความผิตปกติในปอด เนื้อเยื่อปอด เยื่อหุ้มปอดและหลอดลมในปอดมีเซลล์ที่สามารถสร้างและหลั่งสาร VEGF ได้ (เหตุผลไม่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่าเนื่องจากปอดทำหน้าที่ควบคุมป้องกันไม่ให้ร่างกายเกิดภาวะ hypoxemia ตามข้อ 1 จึงต้องมีความสามารถอันนี้) ดังนั้น หากมีโรคหรือความผิดปกติที่ทำให้เกิดการอักเสบอย่างเรื้อรังในปอด ก็จะทำให้มีการหลั่งสาร VEGF เพิ่มมากขึ้น ก็จะเกิดภาวะนิ้วปุ้มตามมาได้
3. การทำงานของ Vagus nerve (เส้นประสาทของระบบประสาทอัตโนวัดิคู่ที่ 10) จากการศึกษาพบว่าเส้นประสาทชนิดนี้อาจมีส่วนช่วยกระตุ้นการสร้าง VEGF ได้ ซึ่งหากมีการกระตุ้นมากไปก็จะทำให้เกิดภาวะนิ้วปุ้มได้ด้วย และถ้าเราทำการผ่าตัดทำลายเส้นประสาทนี้ไป ภาวะนิ้วปุ้มก็ดีขึ้นได้ด้วย
จะเห็นได้ว่าภาวะนิ้วปุ้มนั้น เกิดได้จากหลายสาเหตุมาก ๆ ครับ แต่โดยรวมมาจะต้นตอเดียวกันนั่นคือ VEGF
ตัวอย่างสาเหตุ และ กลไกการเกิดภาวะนิ้วปุ้ม ก็ได้แก่
1. มะเร็งชนิดต่าง ๆ ที่อยู่ในปอด หลอดลมของปอด หรือเยื่อหุ้มปอด ไม่ว่าจะเป็นแบบที่เกิดขึ้นในปอดโดยตรง (primary tumor) หรือแบบที่เริ่มที่อื่นแต่กระจายมา (Secondary tumor)
2. การอักเสบอย่างเรื้อรังภายในเนื้อปอด เช่น ฝีในปอด (lung abscess) ฝีในโพรงเยื่อหุ้มปอด (Empyema) หรือการติดเชื้อเรื้อรังในปอด เช่น bronchiectasis หรือวัณโรคปอด รวมไปถึงการอักเสบชนิดที่ไม่ติดเชื้อด้วย นั่นคือ Interstitial lung disease ประเภทต่าง ๆ (โรคพังผืดในปอดหรือ pulmonary fibrosis ก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้
3. โรคหัวใจ ดังกล่าวแล้วข้างต้น
4. โรคที่มีการอักเสบอย่างเรื้อรังในลำไส้ (inflammatory bowel disease) ซึ่งส่งผลกระตุ้นเส้นประสาท vagus nerve ให้มีการสร้าง VEGF
5. ผู้ป่วยที่เปิดโรคนิ้วปุ้มแต่กำเนิด (Congenital clubbing) กลุ่มนี้มีการสร้าง VEGF เพิ่มมากกว่าปกติแต่กำเนิด เป็นโรคทางพันธุกรรม
สำหรับวิธีการตรวจนิ้วว่ามีภาวะนิ้วปุ้มหรือไม่ เรามีวิธีดูอยู่ 3 อย่างคือ
1) ดูจากด้านข้างของนิ้ว จะเห็นว่า บริเวณกลางข้อนิ้ว (จากรูปคือ ระยะ b) คนปกติจะเล็กกว่าบริเวณข้อนิ้ว (ระยะ a) แต่ในนิ้วปุ้มจะมีระยะ b มากกว่า a
2) ดูจากมุมระหว่างแผ่นเล็บ (nail plate) เนื้อเยื่อโคนเล็บ (proximal nail fold) ปกติแล้วมุมนี้จะเป็นมุมป้าน 130-160 องศา แต่ถ้ากลายเป็นมุมที่มากกว่า 180 องศา แสดงว่าเล็บพองมากกว่าปกติ
3) ดู Schamroth's sign คือเอานิ้วมือของด้านซ้ายกับขวามาประกบกัน คนปกติ จะต้องเห็นช่องว่างตรงบริเวณรอยต่อระหว่างแผ่นเล็บกับโคนเล็บ (เพราะเป็นมุมป้านมาประกบกัน) คนที่นิ้วปุ้มจะไม่เห็นช่องว่างตรงนี้ครับ
ดูแล้วก็ลองไปสังเกตในผู้ป่วยของเรากันดูครับ
เหมือนเราดูโหวงเฮ้งไหมครับ
นิ้วปุ้มที่นิ้วเท้า แต่นิ้วมือปกติบ่งบอกถึงอะไรได้บ้างคะ
ตอบลบ