ก่อนจะพูดถึงแนวทางในการรักษาโรค Seborrheic dermatitis นั้น จะขอทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ก่อนอย่างสั้น ๆ นะครับ ได้แก่
- Seborrheic dermatitis เป็นโรคในกลุ่ม chronic papulosquamous dermatosis ที่มีความสัมพันธ์กับการสร้าง sebum ของผิวหนังที่มากขึ้นกว่าปกติ (Seborrhea) ดังนั้น จึงมักจะพบอยู่บนผิวหนังบริเวณที่มีการสร้าง sebum มาก ๆ เช่น บนหนังศีรษะ หรือบริเวณที่มีขน และบนใบหน้าบริเวณ T-zone
- แม้ว่าหลักฐานของการก่อโรคจะไม่ชัดเจน แต่ก็พบว่ามีความสัมพันธ์กับเชื้อราMalassezia furfur โดยพบว่าอาจเป็นจาก abnormal immune response ต่อเชื้อ หรือจากการที่เชื้อสามารถสร้าง lipase ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของไขมันบนผิวหนังบางชนิดให้กลายเป็น inflammatory free fatty acid
- หากพบรอยโรคเหล่านี้ อาจต้องคิดถึงโรคที่มักจะสัมพันธ์กัน ที่สำคัญคือ neurologic diseases เช่น epilepsy, parkinsonism, quadriplegia, syringomyelia เป็นต้น และโรค HIV infection-AIDS
Treatment and Management
หลักการในการรักษาโรค Seborrheic dermatitis นั้น ก็มาจากแนวคิดของการเกิดโรคดังกล่าวข้างต้นนะครับ คือ abnormal immune response, increased sebum production and kerotosis และ fungal infection ดังนั้นแนวทางในการรักษาเป็นดังนี้
Abnormal immune response: ในระยะที่มีการกำเริบของโรคในระยะแรก สามารถใช้ topical corticosteroid ได้ เพื่อช่วยทำให้การอักเสบลดลงและช่วยทำให้ keratosis และ sebum production ลดลงได้ แต่ควรเลือกใช้ low potency corticosteroid (เช่น 1% hydrocortisone) และต้องใช้เพียงช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้นนะครับ เพราะการใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือใช้ยาที่มีความเข้มข้น/ความแรงมากเกินไปจะมีอาการข้างเคียงตามมา เช่น steroid dermatitis, steroid rebound phenomenon หรือ steroid rosacea เป็นต้น ซึ่งทำให้เวลาหยุดยาแล้วยิ่งจะทำให้รอยโรคเห่อมากขึ้นกว่าเดิม
Increased sebum production and keratosis: ควรระวังอย่าให้ผิวแห้งจนเกินไปเพราะยิ่งจะทำให้มี sebum production เพิ่มมากขึ้น ถ้าเป็นบริเวณใบหน้าพยายามอย่าใช้สบู่ล้างหน้าเพราะทำให้ผิวแห้ง หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางค์หรือสารเคมีที่มี alcohol เป็นส่วนผสมเพราะจะยิ่งทำให้ผิวหนังแห้งมากขึ้น (อันนี้รวมถึงหนังศีรษะด้วยนะครับ) ถ้ารอยโรคมี scale จำนวนมาก (โดยเฉพาะบริเวณหนังศีรษะ) อาจเลือกใช้โลชั่นหรือแชมพูที่มีส่วนผสมของ salicylic acid เพื่อช่วยทำให้เกิดการหลุดลอกของ scale ได้ง่ายขึ้น
Fungal infection: ยาต้านเชื้อราในกลุ่ม imidazoles เช่น miconazole, fluconazole, ketoconazole หรือ itraconazole สามารถใช้ได้ผลดี (โดยทั่วไปนิยมใช้ 2% ketoconazole แต่ยาอื่น ๆ น่าจะได้ผลเช่นเดียวกันแม้จะไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบว่าชนิดใดได้ผลดีกว่ากัน)
สำหรับยาอื่น ๆ ซึ่งอาจจะพิจารณานำมาใช้ เนื่องจากพบว่าได้ผลใน seborrheic dermatitis เช่นกันได้แก่ topical lithium, calcineurin inhibitors (tacrolimus, pimecrolimus) และ vitamin D3 analogues (calcipotriol, tacalcitol) ซึ่งทั้งหมดอาศัยหลักการของ anti-inflammatory ± antifungal property
ที่มา
1) Gerd Plewig, Thomas Jansen. Seborrheic Dermatitis. In: Wolff K, Goldsmith L A, Katz S I et al. Fitpatrick's Dermatology in General Medicine 7th ed. 2008 McGraw-Hill
2) Samuel T Selden. Seborrheic Dermatitis. emedicine.medscape.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น