วันนี้เอาความรู้บางส่วนของโรคเบาหวานมาแบ่งปันนะครับ คือ Dawn phenomenon และ Somogyi effect (อีกแล้ว ศัพท์ประหลาด ๆ อ่านยาก ๆ ฮ่าฮ่าฮ่า)
Dawn phenomenon (คำว่า dawn แปลว่า รุ่งเช้า) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นตามสรีระวิทยาปกติของร่างกาย โดยมีลักษณะคือมีการเพิ่มขึ้นของ glucagon และ cortisol ในเลือดเพิ่มขึ้นในช่วงเช้าตรู่ เพื่อเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดหลังจาก fasting มาตลอดทั้งคืน ซึ่งจะมีผลทำให้มีการเพิ่มขึ้นของ hepatic glycogenolysis และ gluconeogenesis ทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ในผู้ป่วยเบาหวาน อาจมีน้ำตาลในเลือดเพิ่มได้มากในตอนเช้าจากสาเหตุนี้
Somogyi effect (อ่านว่า โซ-โม-ยี ตามชื่อแพทย์ชาวฮังกาเรียน) เป็นการตอบสนองของร่างกายโดยเฉพาะในผู้ป่วยเบาหวานอันเนื่องมาจากการมี drug-induced hypoglycemia ช่วงกลางคืน ทำให้เกิดการกระตุ้นการหลั่ง glucogon และ stress hormone อื่น ๆ พยายามทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น ทำให้ในช่วงเช้า ระดับน้ำตาลสูงให้ตรวจพบได้
สังเกตไหมครับว่า ทั้งสองภาวะ ทำให้เกิด morning fasting hyperglycemia ได้เหมือนกันเลย แต่สาเหตุต่างกันนะครับ และรักษาไม่เหมือนกันด้วย
กรณี Somogyi effect มักมีสาเหตุจากการที่ผู้ป่วยได้รับยาเพิ่มการหลั่ง insulin หรือ exogenous insulin ที่ออกฤทธิ์มากและเร็วเกิน (เช่นให้ regular insulin ก่อนนอน) ทำให้ peak effect เกิดขึ้นช่วงกลางดึก ตัวอย่างเช่น ฉีด Regular insulin ตอน 21.00 ก็จะมี peak effect ที่ประมาณ 0.00-01.00 น. แต่หมดฤทธิ์ตอน 03.00 ซึ่งในช่วงที่มี hypoglycemia ร่างกายก็จะกระตุ้นให้เพิ่มน้ำตาลมากมาย แต่ต่อมา insulin หมดฤทธิ์ ทำให้น้ำตาลในเลือดยังคงสูงอยู่จนถึงเช้า ส่วนกรณี dawn phenomenon เกิดจากการที่ให้ยาช่วงก่อนนอนไม่มากพอที่จะครอบคลุม physiologic hyperglycemia ได้
ดังนั้น ถ้าผู้ป่วยมี hyperglycemia ตอนเช้าจาก Somogyi effect หากแพทย์ที่ตรวจ เข้าใจว่าเป็นเพราะให้ยาไม่พอ (dawn phenomenon) ก็จะเพิ่มยา ซึ่งการทำเช่นนั้น จะยิ่งทำให้ hypoglycemia มาก และยิ่งมีน้ำตาลในเลือดตอนเช้าสูงกว่าเดิมได้
วิธีการแยก 2 ภาวะนี้ออกจากกัน ก็คือ ให้ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดตอน 01.00-02.00 ว่าน้ำตาลในเลือดค่อนต่ำหรือสูงครับ ถ้าต่ำ ก็แสดงว่าเป็นจาก Somogyi effect
สำหรับการรักษา ถ้าเป็น Somogyi effect การรักษาคือ การปรับยาก่อนนอนจาก RI ให้เป็น NPH (หรือถ้าใช้เป็น premixed insulin อาจจะต้องหยุดแล้วให้เฉพาะ NPH) ถ้าเป็นยากิน ต้องให้ยาที่ออกฤทธิ์ช้าลงและให้ในขนาดที่ลดลง ถ้าเป็น Dawn phenomenon ต้องปรับเพิ่มยาครับ
ขอบคุณค่ะ เข้าใจมากขึ้นเลย
ตอบลบ