วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555

Seborrheic Dermatitis: Treatment & Management


ก่อนจะพูดถึงแนวทางในการรักษาโรค Seborrheic dermatitis นั้น จะขอทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ก่อนอย่างสั้น ๆ นะครับ ได้แก่
  • Seborrheic dermatitis เป็นโรคในกลุ่ม chronic papulosquamous dermatosis ที่มีความสัมพันธ์กับการสร้าง sebum ของผิวหนังที่มากขึ้นกว่าปกติ (Seborrhea) ดังนั้น จึงมักจะพบอยู่บนผิวหนังบริเวณที่มีการสร้าง sebum มาก ๆ เช่น บนหนังศีรษะ หรือบริเวณที่มีขน และบนใบหน้าบริเวณ T-zone
  • แม้ว่าหลักฐานของการก่อโรคจะไม่ชัดเจน แต่ก็พบว่ามีความสัมพันธ์กับเชื้อราMalassezia furfur โดยพบว่าอาจเป็นจาก abnormal immune response ต่อเชื้อ หรือจากการที่เชื้อสามารถสร้าง lipase ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของไขมันบนผิวหนังบางชนิดให้กลายเป็น inflammatory free fatty acid
  • หากพบรอยโรคเหล่านี้ อาจต้องคิดถึงโรคที่มักจะสัมพันธ์กัน ที่สำคัญคือ neurologic diseases เช่น epilepsy, parkinsonism, quadriplegia, syringomyelia เป็นต้น และโรค HIV infection-AIDS 

Seborrheic dermatitis affecting the scalp line and the eyebrows with red skin and scaling. Courtesy of Wilford Hall Medical Center Dermatology slide files. (ภาพจาก emedicine.medscape.com)

Treatment and Management
หลักการในการรักษาโรค Seborrheic dermatitis นั้น ก็มาจากแนวคิดของการเกิดโรคดังกล่าวข้างต้นนะครับ คือ abnormal immune response, increased sebum production and kerotosis และ fungal infection ดังนั้นแนวทางในการรักษาเป็นดังนี้

Abnormal immune response: ในระยะที่มีการกำเริบของโรคในระยะแรก สามารถใช้ topical corticosteroid ได้ เพื่อช่วยทำให้การอักเสบลดลงและช่วยทำให้ keratosis และ sebum production ลดลงได้ แต่ควรเลือกใช้ low potency corticosteroid (เช่น 1% hydrocortisone) และต้องใช้เพียงช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้นนะครับ เพราะการใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือใช้ยาที่มีความเข้มข้น/ความแรงมากเกินไปจะมีอาการข้างเคียงตามมา เช่น steroid dermatitis, steroid rebound phenomenon หรือ steroid rosacea เป็นต้น ซึ่งทำให้เวลาหยุดยาแล้วยิ่งจะทำให้รอยโรคเห่อมากขึ้นกว่าเดิม

Increased sebum production and keratosis: ควรระวังอย่าให้ผิวแห้งจนเกินไปเพราะยิ่งจะทำให้มี sebum production เพิ่มมากขึ้น ถ้าเป็นบริเวณใบหน้าพยายามอย่าใช้สบู่ล้างหน้าเพราะทำให้ผิวแห้ง หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางค์หรือสารเคมีที่มี alcohol เป็นส่วนผสมเพราะจะยิ่งทำให้ผิวหนังแห้งมากขึ้น (อันนี้รวมถึงหนังศีรษะด้วยนะครับ) ถ้ารอยโรคมี scale จำนวนมาก (โดยเฉพาะบริเวณหนังศีรษะ) อาจเลือกใช้โลชั่นหรือแชมพูที่มีส่วนผสมของ salicylic acid เพื่อช่วยทำให้เกิดการหลุดลอกของ scale ได้ง่ายขึ้น

Fungal infection: ยาต้านเชื้อราในกลุ่ม imidazoles เช่น miconazole, fluconazole, ketoconazole หรือ itraconazole สามารถใช้ได้ผลดี (โดยทั่วไปนิยมใช้ 2% ketoconazole แต่ยาอื่น ๆ น่าจะได้ผลเช่นเดียวกันแม้จะไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบว่าชนิดใดได้ผลดีกว่ากัน) 

สำหรับยาอื่น ๆ ซึ่งอาจจะพิจารณานำมาใช้ เนื่องจากพบว่าได้ผลใน seborrheic dermatitis เช่นกันได้แก่ topical lithium, calcineurin inhibitors (tacrolimus, pimecrolimus) และ vitamin D3 analogues (calcipotriol, tacalcitol) ซึ่งทั้งหมดอาศัยหลักการของ anti-inflammatory ± antifungal property

ที่มา 
1) Gerd Plewig, Thomas Jansen. Seborrheic Dermatitis. In: Wolff K, Goldsmith L A, Katz S I et al. Fitpatrick's Dermatology in General Medicine 7th ed. 2008 McGraw-Hill
2) Samuel T Selden. Seborrheic Dermatitis. emedicine.medscape.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น