วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2556

กลไกของการเกิด Acanthocyte & Echinocyte ของเม็ดเลือดแดง

วันนี้เอาเกร็ดความรู้เกี่ยวกับ Acanthocytes (Spur cells) และ Echinocytes (Burr cells) มาแบ่งปันครับ 

Acanthocyte (spur cells) และ Echinocyte (burr cells) นั้น เป็นลักษณะที่เราใช้ในการอธิบายความผิดปกติของรูปร่างเม็ดเลือดแดง (Red blood cell, RBC) โดยจะพบมีลักษณะผิวเซลล์ยื่นออกมาจากตัวเซลล์คล้ายหนาม (Acantho = Spine) หรือทำให้เม็ดเลือดแดงมีรูปร่างคล้ายกับหอยเม่น (Echino = Sea Urchin)

โดยทั่วไปสองลักษณะนี้ก็มีความหมายคล้ายกันครับ เพียงแต่ acanthocyte มักถูกในอธิบายลักษณะ RBC ที่มีหนามยื่นยาวออกจากตัวเซลล์หลาย ๆ อันแต่มีขนาดและระยะห่างไม่สม่ำเสมอ ส่วน echinocyte นั้น จะมีตุ่มหนามสั้น ปลายไม่แหลม และมีระยะห่างค่อนข้างสม่ำเสมอ

ภาวะนี้มักพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคหรือความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง protein หรือ phospholipid เช่น โรคตับ โรคพิษสุราเรื้อรัง และกลุ่ม abetalipoproteinemia ครับ

ในผู้ป่วยโรคตับหรือผู้ป่วยที่ดื่มสุรามากเป็นเป็นเวลานาน จะมีความสามารถในการสร้าง lipoprotein ลดลง ร่วมกับ alcohol นั้น มีผลทำให้ร่างกายขับ phosphate ออกจากร่างกายมากขึ้น ทำให้เกิดภาวะ hypophosphatemia ซึ่งสองสาเหตุนี้ ทำให้ phospholipid และ lipoprotein ลดลง แต่มี free lipid (cholesterol) เพิ่มขึ้น ไขมันเหล่านี้จะเข้าไปสะสมในเยื่อหุ้มเซลล์มากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้พื้นที่ผิวนอกของเม็ดเลือดแดงมากขึ้นจนมากกว่าปริมาตรที่อยู่ภายใน ทำให้เยื่อหุ้มเซลล์ต้องยื่นออกมาทางด้านนอก

การที่เห็นมีลักษณะเป็นหนามนั้น เป็นเพราะด้านในของผิวเซลล์ยังมี protein โครงสร้างชนิดต่าง ๆ เช่น protein 2.1, protein 4.1, actin และ spectrin ที่ยืดกันอยู่ ทำให้ผิวเซลล์บางส่วนไม่สามารถขยายออกไปได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น